Site news

เจ้าพ่อการตลาด

 
 
รูปภาพของpattra untinagon
เจ้าพ่อการตลาด
โดย pattra untinagon - อังคาร, 22 ธันวาคม 2015, 11:40PM
 

เจ้าพ่อการตลาด
นางสาวภัทรา  อุ่นทินกร 
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน  กลุ่มหลักสูตรและการนิเทศ
รหัสนักศึกษา  58253905
นักศึกษาปริญญาดุษฎีบัณฑิต   ชั้นปีที่ 1
เรื่อง เจ้าพ่อการตลาด ของไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ
                          นำเสนอเรื่องราวผ่านตัวละครชื่อ  สมชาย  ได้เขียนเพื่อสะท้อนแนวคิดคิดของเด็นผู้ชายคนหนึ่ง
ชื่อว่าามว่า “สมชาย” เกิดที่จังหวัดสงขลา ซึ่งครอบครัวของสมชายไม่ค่อยมีฐานะ เขาอาศัยอยู่กับแม่และยาย   สมชายเป็นเด็กที่มีความขยัน อดทน ชีวิตของสมชายได้รับโอกาสที่ดีในชีวิต และเขาก็ไม่เคยปล่อยให้โอกาสนั้นผ่านไป เขารับโอกาสและดำเนินการสานฝันจากโอกาสที่ได้รับทุกครั้งอย่างเต็มที่ ด้วยสติปัญญา ความตั้งใจ ความอดอดทน โดยได้รับโอกาสเข้ามาศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสมชายและทำให้สมชายได้รับโอกาสดีๆ อย่างต่อเนื่องเรื่อยมา โอกาสที่สมชายได้รับนั้นทำให้สมชายได้รับประสบการณ์ ความต้องการของสมชายคงดำเนินไปตามทฤษฎีความต้องการของมนุษย์
 
ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ( Maslow’s Hierarchical Theory of Motivation) นำสู่ความสำเร็จ
                หากมองในแง่การนำเสนอตัวละครผ่านนวนิยายเรื่องนี้ข้าพเจ้ามองเรื่องของทฤษฎีความต้องการ ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันเป็นอย่างดีถึงความต้องการของมนุษย์ ดังที่ Maslow เชื่อว่ามนุษย์เป็น สัตว์ที่มีความต้องการ” (wanting animal) และเป็นการยากที่มนุษย์จะไปถึงขั้นของความพึงพอใจอย่างสมบูรณ์   ลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ ( The Need –Hierarchy Conception of Human Motivation ) Maslow เรียงลำดับความต้องการของมนุษย์จากขั้นต้นไปสู่ความต้องการขั้นต่อไปไว้เป็นลำดับดังนี้
1. ความต้องการทางด้านร่างกาย ( Physiological needs )
2. ความต้องการความปลอดภัย ( Safety needs )
3. ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ ( Belongingness and love needs )
4. ความต้องการได้รับความนับถือยกย่อง ( Esteem needs )
5. ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ( Self-actualization needs )
 
ทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยการหยั่งรู้ (Insight Learning)
                ทฤษฎีการหยั่งรู้นี้เป็นการศึกษาทดลองของนักจิตวิทยาชาวเยอรมันซึ่งแยกลุ่มเกสตอล (Gestalt) ประกอบด้วย นักจิตวิทยาที่สำคัญ 3 คน คือ เวอร์ไทเมอร์ คอฟฟ์ก้าและเคอเลอร์
คำว่า
คำว่า เกสตอล (Gestalt) หมายถึง แบบแผนหรือภาพรวม โดยนักจิตวิทยากลุ่มนี้ได้ให้ความสำคัญกับส่วนรวม หรือผลรวมมากว่า ส่วนย่อย ในการศึกษาวิจัยพบว่าการรับรู้ของคนเรามักจะรับรู้ส่วนรวมมากกว่ารายละเอียดปลีกย่อย  ในการเรียนรู้ และการแก้ปัญหา ก็เช่นเดียวกัน คนเรามักจะเรียนอะไรได้เข้าใจก็ต้องศึกษาภาพรวมก่อน หลังจากนั้นจึง พิจารณา รายละเอียดปลีกย่อย จะทำให้เกิดความเข้าใจ ในเรื่องนั้นได้ชัดเจนขึ้น
การเรียนรู้ตามแนวของกลุ่มเกสตอล
การเรียนรู้ตามแนวของกลุ่มเกสตอล จะมีลักษณะดังนี้

ภาพรวม

ภาพรวม  รายละเอียดปลีกย่อย   ภาพรวม
(
(Whole)                  (Parts)                 (Whole)
(ความเข้าใจ)
(Insight) 
 การทดลองของกลุ่มการเรียนรู้ด้วยการหยั่งรู้ ผลการทดลองสรุปได้ว่า โดยปกติแล้วคนเราจะมีวิธีการเรียนรู้และการแก้ปัญหา โดยอาศัยความคิดและประสบการณ์ เดิมมากกว่าการลองผิดลองถูก 
เมื่อสามารถแก้ปัญหาในลักษณะนั้นได้แล้ว เผชิญกับปัญหาที่คล้ายคลึงกันก็สามารถแก้ปัญหาได้ทันที ลักษณะดังกล่าวนี้เกิดขึ้นได้ เพราะมนุษย์สามารถจัดแบบ (Pattern) ของความคิดใหม่เพื่อใช้ใน การแก้ปัญหาที่ตนเผชิญอยู่ได้อย่างเหมาะสม หลักการรับรู้ของมนุษย์ เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้มีผลให้นักการศึกษานำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมาก ทั้งนี้เพราะการรับรู้เป็นปัจจัยสำคัญของการเรียนรู้ การรับรู้ของมนุษย์มีลักษณะเป็นอัตนัย (Subjective) และเห็นความสำคัญของส่วนรวมมากกว่า รายละเอียดปลีกย่อย
กฎการรับรู้ที่สำคัญมี 4 ข้อ ดังนี้
1. กฎแห่งความใกล้ชิด
 (Proximity) สิ่งเร้าที่อยู่ใกล้กัน มักจะถูกรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน 
2. กฎแห่งความคล้าย (
Similarity) สิ่งเร้าที่มองดูคล้ายกันจะถูกจัดว่าเป็นพวกเดียวกัน
3. กฎแห่งความสมบูรณ์ (
Closure) สิ่งเร้าที่มีบางส่วนบกพร่องไปคนเราจะรับรู้โดยเติมส่วนที่ขาดหายไปให้เป็นภาพ หรือเป็นเรื่องที่สมบูรณ์
4. กฎแห่งการต่อเนื่องที่ดี (
Good Continuation) สิ่งเร้าที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันอย่างดี จะถูกรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน 
1. กฎแห่งความใกล้ชิด (Proximity) สิ่งเร้าที่อยู่ใกล้กัน มักจะถูกรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน 
2. กฎแห่งความคล้าย (Similarity) สิ่งเร้าที่มองดูคล้ายกันจะถูกจัดว่าเป็นพวกเดียวกัน
3. กฎแห่งความสมบูรณ์ (
3. กฎแห่งความสมบูรณ์ (Closure) สิ่งเร้าที่มีบางส่วนบกพร่องไปคนเราจะรับรู้โดยเติมส่วนที่ขาดหายไปให้เป็นภาพ หรือเป็นเรื่องที่สมบูรณ์
4. กฎแห่งการต่อเนื่องที่ดี (
4. กฎแห่งการต่อเนื่องที่ดี (Good Continuation) สิ่งเร้าที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันอย่างดี จะถูกรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน 
     นอกจากนั้นสมชายยังได้ใช้หลักปรัชญาในการดำเนินชีวิต
  ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม Progressive    สมชายไม่หยุดนิ่งพยายามหาประสบการณ์ใหม่ อยู่เสมอ
ปรัชญาการศึกษา นิรัตรนิยม Perennialism สมชายดำเนินชีวิตด้วยสติปัญญาและมีเหตุผลในการดำเนินชีวิต
 ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยมเป็นปรัชญาให้มนุษย์มีความสมบูรณ์ มีความรับผิดชอบและตัดสินใจเลือกปฏิรูปนิยม
                นอกจากสมชายดำเนินชีวิตตามทฤษฎีและปรัชญา สมชายยังมีอีกประการหนึ่งที่สำคัญคือ ความมีมนุษยสัมพันธ์ จึงทำให้สมชายประสบความสำร็จในชีวิต