Site news

เปรียบเทียบหลักสูตรกับผลไม้

 
 
รูปภาพของpattra untinagon
เปรียบเทียบหลักสูตรกับผลไม้
โดย pattra untinagon - พฤหัสบดี, 10 ธันวาคม 2015, 8:04PM
 


เปรียบเทียบหลักสูตรกับ ผลไม้  “ มะละกอ”

มะละกอ    เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว 5-9 แฉก เกาะกลุ่มอยู่ด้านบนสุดของลำต้น ภายในก้านใบและใบมียางเหนียวสีขาวอยู่ มะละกอบางต้นอาจมีดอกเพียงเพศเดียว แต่บางต้นอาจมีดอกได้ทั้งสองเพศก็ได้ ผลเป็นรูปรี อาจหนักได้ถึง 9 กิโลกรัม ผลดิบมีสีเขียว และมีน้ำยางสีขาวสะสมอยู่ที่เปลือก ส่วนผลสุก เนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม มีเมล็ดสีดำเล็ก ๆ อยู่ภายในกินไม่ได้

พันธุ์มะละกอในประเทศไทย

1.พันธุ์แขกดำ เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกและรับประทานกันมาก โดยเฉพาะสวนมะละกอในภาคกลาง จะนิยมปลูกพันธุ์แขกดำ เพราะเป็นพันธุ์ที่มีต้นเตี้ย ออกดอกให้ผลเร็ว ก้านใบสีเขียว ใบหนาสีเขียวเข้ม ผลมีขนาดปานกลาง มีรูปร่างเป็นทรงกระบอก ส่วนหัวและส่วนปลายผลมีขนาดเกือบเท่ากันหรือเท่ากัน สีผิวผลเป็นสีเขียวเข้ม และผิวไม่เรียบ ผลสุก เนื้อจะมีสีแดง เนื้อแน่น รสหวาน มีช่องว่างภายในผลแคบ น้ำหนักผลโดยประมาณ 0.6-2.0 กิโลกรัม พันธุ์นี้เหมาะสำหรับการบริโภคผลสุก และส่งตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดฮ่องกงและสิงคโปร์

2.พันธุ์แขกนวล เป็นพันธุ์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับพันธุ์แขกดำมาก และนิยมปลูกในบริเวณภาคกลางเช่นเดียวกัน เป็นพันธุ์ที่มีต้นเตี้ยออกดอกให้ผลเร็ว และให้ผลค่อนข้างสม่ำเสมอตลอดฤดูปลูก ลักษณะรูปร่างผลเหมือนพันธุ์แขกดำ แต่สีผิวจะมีสีเขียวอ่อน นวล และผิวผลเรียบ ผลสุกเนื้อมีสีแดง เนื้อแน่น พันธุ์นี้นิยมส่งตลาดภาคอีสาน เพราะผลดิบเนื้อแน่น แข็ง จึงเป็นที่ต้องการของตลาดอีสานมาก

3.พันธุ์โกโก้ เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีต้นเตี้ย ลำต้นอาจมีจุดประสีม่วง ก้านใบมีทั้งสีม่วงและสีเขียว รูปร่างผลจะต่างจากพันธุ์แขกดำ ผลของโกโก้ มีส่วนหัวเรียวเล็ก ส่วนปลายผลใหญ่ ขนาดผลใหญ่ มีน้ำหนักผลประมาณ 1.3-2.0 กิโลกรัม ผลสุกเนื้อสีแดง เนื้อหนา แน่น รสหวาน เหมาะสำหรับบริโภคผลสุกและส่งเข้าโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูป

4.พันธุ์สายน้ำผึ้ง ลักษณะคล้ายกับพันธุ์โกโก้ แต่ลำต้นและก้านใบมีสีเขียวอ่อน ก้านใบยาวกว่าพันธุ์อื่นๆ แต่จำนวนแฉกใบน้อยกว่าพันธุ์อื่น ๆ พันธุ์นี้ต้นค่อนข้างสูงและออกดอกติดผลช้า

มะละกอจะมีราคาดีช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคมของทุกปี โดยจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 15 บาท ในการเก็บผลผลิตแต่ละครั้ง ตนเองจะเก็บผลได้ครั้งละ 20 กว่าตัน โดยตนเองจะส่งขายให้กับโรงงานทำซอส และเมื่อทุกครั้งที่เก็บผลโรงงานก็จะมีรถจากโรงงานทำซอสมารับซื้อมะละกอจากสวนของตนเองถึงที่ เฉลี่ยแล้วปีหนึ่งหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดตนเองก็จะเหลือกำไรจากการขายมะละกอประมาณ 300,000-400,000 บาท

นอกจากการนำมะละกอไปรับประทานสด ๆ แล้ว เรายังสามารถนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ แกงส้ม ฯลฯ หรือนำไปหมักเนื้อให้นุ่มได้อีกด้วย เพราะในมะละกอมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งเรียกว่า พาเพน (Papain) ซึ่งสามารถนำเอนไซม์ชนิดนี้ไปใส่ในผงหมักเนื้อสำเร็จรูป บางครั้งนำไปทำเป็นยาช่วยย่อยสำหรับผู้ที่มีปัญหาอาหารไม่ย่อยก็ได้

สำหรับสารอาหารในมะละกอนั้น มีดังต่อไปนี้

                                              โปรตีน                    ไขมัน                                         เหล็ก

                                               แคลเซียม                ฟอสฟอรัส                        โซเดียม

                                               ไทอะมีน                                   ไรโบฟลาวิน                    ไนอะซิน

                                              กรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี )

สรรพคุณของมะละกอ สรรพคุณของมะละกอมีมากมายนัก ใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคได้

1. แก้อาการขัดเบา ใช้รากสด (1 กำมือ) 70-90 กรัม รากแห้ง 25-35 กรัม หั่นต้มกับน้ำ กรองดื่มเฉพาะน้ำ วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชา(75 มิลลิลิตร) ดื่มก่อนอาหาร

2. เป็นยาระบายอ่อนๆ การกินเนื้อมะละกอสุก ช่วยเป็นยาระบายอ่อนๆ เพราะไปช่วยเพิ่มจำนวนกากไยอาหาร ดังนั้นเนื้อผลสุกมะละกอจะช่วยระบายอ่อนๆ แก้ท้องผูก

 

 

สรรพคุณ มะละกอ :

เปลือกมะละกอ - ทำน้ำยาขัดรองเท้าได้ ผลสุก - เป็นมีสรรพคุณป้องกัน หรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย

ยางจากผลดิบ - เป็นยาช่วยย่อยโปรตีน ฆ่าพยาธิได้

รากมะละกอ - ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา

ใช้เป็นยาระบาย :ใช้ผลสุกไม่จำกัดจำนวน รับประทานเป็นผลไม้

เป็นยาช่วยย่อย: 1. ใช้เนื้อมะละกอดิบไม่จำกัด ประกอบอาหาร เช่น ส้มตำ แกง เป็นผักจิ้ม 2. ยางจากผลดิบ หรือจากก้านใบ ใช้ 10-15 กรัม หรือถ้าเป็นตัวยาช่วยย่อย เพราะในยางมะละกอมีสารที่เรียกว่า Papain

เป็นยากัน หรือแก้โรคลักปิดลักเปิด โรคเลือดออกตามไรฟัน: ใช้มะละกอสุกรับประทานเป็นผลไม้ ให้วิตามินซีสูง

เท้าบวม: เอาใบมะละกอสดตำให้แหลกผสมกับเหล้าขาว ใช้พอกเท้าที่บวมลดอาการบวมลงได้

แก้เคล็ดขัดยอก: ใช้รากมะละกอสดตำให้แหลกผสมเหล้าโรงพอก

โดนหนามตำหรือหนามหักคาเนื้อใน: ให้บ่งปากแผลเปิดออก เอายางมะละกอดิบใส่หนามจะหลุดออก

คันเพราะพิษของหอยคัน: ให้ใช้ยางมะละกอดิบทาเช้า-เย็นจนหาย

เมื่อมีอาการปวดตามข้อและหลัง: รับประทานมะละกอสุกเป็นประจำป้องกันและบำบัดโรคปวดข้อปวดหลังได้ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ไม่มีแรง ใช้รากมะละกอตัวผู้แช่เหล้าขาวให้ท่วมยาไว้ 7 วัน และกรองเอาน้ำใช้ทาแก้ปวดข้อและกล้ามเนื้อเปลี้ยอ่อนแรง ลดอาการปวดบวม ให้เอาใบมะละกอสดย่างไฟหรือลวกกับน้ำร้อนแล้วประคบบริเวณที่ปวด หรือตำพอหยาบห่อด้วยผ้าขาวบางทำเป็นลูกประคบ

ถ้าโดนตะปูตำเป็นแผล: ให้เอาผิวลูกมะละกอดิบตำพอกแผล เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง แผลน้ำร้อนลวก ใช้เนื้อมะละกอดิบต้มให้สุกจนเปือย ตำพอกที่แผล แผลพุพอง ใช้ใบมะละกอแห้งกรอบบดเป็นผง ผสมกับน้ำกะทิพอเหนียวข้น ใช้พอกหรือทาที่แผลวันละ 2-3 ครั้ง

แก้ผดผืนคัน: ใช้ใบมะละกอ 1 ใบ น้ำมะนาว 2 ผล เกลือ 1 ช้อนชา ตำรวมกันให้ละเอียดเอาทั้งน้ำและเนื้อทาแผลบ่อยๆ กลาก เกลื้อน ฮ่องกงฟุตหรือเท้าเปือย ใช้ยางของลูกมะละกอดิบทาวันละ 3 ครั้งฆ่าเชื้อราได้

แบบจำลองของไทเลอร์ถือเป็นต้นแบบของการพัฒนาหลักสูตร ไทเลอร์ให้คำแนะนำว่า ในการกำหนดวัตถุประสงค์ทั่วไปของหลักสูตรทำได้ด้วยการเก็บข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ประกอบด้วยข้อมูลผู้เรียนข้อมูลสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่และข้อมูลเนื้อหาสาระวิชานำข้อมูลจากสามเหลี่ยมนี้มาวิเคราะห์เชื่อมโยงข้อมูลมีเหตุผลเพื่อช่วยให้มั่นใจในการเก็บรวบรวมนาการเชื่อมโยงข้อมูลเป็นการสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปกำหนดวัตถุประสงค์ ของหลักสูตรฉบับร่างต่อจากนั้นกลั่นกรองด้วยปรัชญาการศึกษาของสถานศึกษาและจิตวิทยาการเรียนรู้
      การกำหนดวัตถุประสงค์ทั่วไปของหลักสูตรตามแนวคิดของไทเลอร์จะหมายถึง “จุดมุ่งหมาย”วัตถุประสงค์ของการศึกษา(educational objectives)  และจุดมุ่งหมายของการศึกษา(educational purposes)  งานพัฒนาหลักสูตร จะวิเคราะห์ข้อมูลเชื่อมโยงความสัมพันธ์ความสนใจและความต้องการของผู้เรียนอันประกอบด้วยการศึกษา สังคม อาชีพ จิตวิทยา และนันทนาการ การเก็บข้อมูลด้วยการสังเกตของผู้เรียนของผู้สอนการสัมภาษณ์ผู้เรียนและผู้ปกครองการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามและทดสอบผู้เรียนจากการประเมินความต้องการจำเป็นนี้ นักพัฒนาหลักสูตรนำไปกำหนดจุดประสงค์ในการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนต่อไป จากนั้นนำจุดประสงค์มาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลสังคมและข้อมูลจากชุมชนท้องถิ่นทั้งนี้เพื่อกำหนดความต้องการจำเป็น ในการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนแล้วนำเนื้อหาสาระและหลักวิชาความรู้มาพิจารณา ร่วมด้วย เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ฉบับร่างต่อไปการใช้ข้อมูลพื้นฐานอย่างน้อยสาม ด้านนี้จะช่วยลดหรือขจัดความไม่จำเป็น หรือไม่สำคัญ หรือความขัดแย้งของจุดประสงค์ใดเริ่มให้คำแนะนำว่าในการกลั่นกรองวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ลำดับแรกใช้ข้อมูลจากปรัชญาการศึกษาของโรงเรียนในการใช้ปรัชญาการศึกษามากลั่นกรองดังคำถามของไทเลอร์ (Tyler.1949:35 ) ที่ว่า การศึกษาจะต้องจัดการศึกษามุ่งให้ความสำคัญกับสังคมด้วยการยอมรับความต้องการของสังคมและในการดำเนินชีวิตในการศึกษาเป็นเครื่องมือ ที่มุ่งปรับปรุงสังคมผู้สอนควรได้นำทางปรัชญาสังคมและปรัชญาการศึกษามาเป็นเค้าโครงพิจารณาใน4ประเด็นคือ
1)
  ความจำ และการระลึกได้ ของแต่ละคนเป็นพื้นฐานของการเป็นมนุษย์ไม่จำกัดว่าจะเป็นเชื้อชาติหรือสัญชาติ    

     หรือฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม
2)โอกาสเพื่อมีส่วนร่วมที่เปิดกว้างในทุกระยะของกิจกรรมในกลุ่มสังคม
3)ให้การสนับสนุนของการเปลี่ยนแปลงมากกว่ามุมจานตอบความต้องการส่วนบุคคล
4)ความเชื่อและสติปัญญา เป็นด่างวิธีของความคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหาความสำคัญมากกว่าการที่จะขึ้นอยู่กับ

   อำนาจรัฐหรือผู้มีอำนาจ

 

หลักสูตรคือแบบแผนมีความเป็นสากล ศาสตร์ในการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการจัดกิจกรรมประสบกราณ์กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ฉะนั้นถ้าจะเปรียบเทียบผลไม้อะไรกับหลักสูตรคงต้องนึกถึง มะละกอซึ่งเป็นผลไม้ที่มีราคาไม่แพงแต่มะละกอก็มีประโยชน์ มีคุณค่าทางโภชนาการสูงนอกจากนั้นมะละกอสามารถปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย เป็นวัตถุดิบที่ทุกคนคุ้นเคย เห็นคุณค่าและประโยชน์  ราคาไม่แพง ผู้ที่นำมารับประทานสามารถที่จะนำวัตถุดิบมาปรุงอาหาร บริบท และความเหมาะสมของท้องถิ่นของตนเอง ทั้งยังเลือกลัษณะของมะละกอ เพื่อนำมาประกอบในอาหารชนิดต่างๆ ที่ตนเองต้องการ เช่น

- ทางภาคกลาง เช่น  ผัดมะละกอใส่ไข่  ฯลฯ

- ภาคอีสาน เช่น ส้มตำมะละกอ ฯลฯ

- ภาคใต้   เช่น แกงเหลืองใส่มะละกอ ฯลฯ

-ภาคเหนือ เช่น มะละกอเชื่อม แกงอ่อม ฯลฯ

 

 

 

 

 

 

 

 


                นอกจากอาหารต่างๆ ของคนในแต่ละภาคจะใช้มะละกอเป็นวัตถุดิบสำคัญในการทำอาหารแล้วเรายัง

สังเกตว่าการจะทำอาหารประเภทต่างๆ ให้มีรสชาติอร่อยจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าปราศจากส่วนประกอบอื่นๆ ที่จะช่วยรังสรรค์ให้รสชาติอาหารนั้นเลอค่าจากที่กล่าวมานั้นจะเห็นได้ว่ามะละกอเป็นวัตถุดิบที่สำคัญ ทุกคนรู้วามีประโยชน์แต่ก็ต้องอาสัยส่วนประกอบอื่นๆ ในการปรุงอาหาร เช่นเดีวกับหลักสูตรที่ต้องมีองค์ประกอบอื่นๆเช่น ผู้บริหาร ผู้ปกครอง  บุคคลในท้องถิ่น เป็นต้น ซึ่งองค์ประกอบต่าง ๆนั้น สามารถส่งเสริมและสนับสนุนให้หลักสูตรนั้นเป็นที่ยอมรับและเกิดประสิทธิภาพต่อผู้เรียนตามศักยภาพที่สูงสุด